top of page

การนอนที่น่าเป็นห่วงของผู้ป่วย Stroke


รู้หรือไม่? การนอนหลับของผู้ป่วย Stroke ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม!

หลายคนอาจคิดว่า “แค่ได้นอนหลับพักผ่อนก็ดีแล้ว” แต่จริง ๆ แล้วผู้ป่วย Stroke บางรายอาจกำลังเผชิญกับ “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ” โดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถส่งผลกระทบต่อ

การฟื้นตัว และเป็น 1 ปัจจัยเสี่ยงในการเกิด Stroke ซ้ำได้


ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) คือ ภาวะที่ทางเดินหายใจแคบหรืออุดตันขณะหลับ ทำให้ผู้ป่วยหายใจติดขัดหรือหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ สมองจึงต้องปลุกให้ตื่นบ่อยครั้ง

ตลอดคืนส่งผลให้หลับไม่ลึก หลับไม่ต่อเนื่อง และตื่นมารู้สึกไม่สดชื่น แม้จะนอนมานานหลายชั่วโมงก็ตาม


สัญญาณที่ควรเฝ้าระวัง

  • กรนเสียงดังผิดปกติ

  • หยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ระหว่างนอน

  • รู้สึกง่วงบ่อยในตอนกลางวัน

  • ตื่นนอนแล้วยังรู้สึกไม่สดชื่น


หากผู้ป่วยมีอาการในสัญญาณดังกล่าวที่มากผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินว่าจำเป็นต้องตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) หรือไม่ หรือเพื่อรีบวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้น


สำหรับผู้ป่วย Stroke ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์มักแนะนำให้ใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกต่อเนื่อง (CPAP) ซึ่งทำหน้าที่ส่งแรงดันอากาศผ่านหน้ากาก เพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจให้โล่งตลอดการนอนหลับ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด Stroke ซ้ำ ช่วยฟื้นฟูสมองและการทำงานระบบประสาท



การแก้ปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงจากปัจจัยอื่น ๆ ได้ เช่น

น้ำหนักที่มากเกิน โครงสร้างใบหน้าที่ผิดปกติ 


ทั้งนี้การตรวจและรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ ช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวของสมอง ระบบประสาทของผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติค่ะ



 
 
 

Comments


bottom of page